พญานาค ตำนานท้องถิ่นของไทย

พญานาค ตำนานท้องถิ่นของไทย / โดย มหานิยม
เรื่องราวความลี้ลับที่ทุกคนอยากรู้ ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ใครที่เคยเห็นบ้าง บูชาแล้วได้อะไร?
มหานิยมจะเล่าให้ฟัง...
พญานาค หรือ นาค มีคติความเชื่อมาแต่โบราณกาล แม้ในในทางพระพุทธศาสนาก็ยังมีการบันทึกไว้ถึงเรื่องเรื่องพญานาค และยังเป็นคติความเชื่อที่มีอยู่มาช้านาน ทั้งของทางพรามห์ฮินดู
ความเชื่อเรื่องพญานาคที่มาจากฮินดู มีเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน
ลักษณะของพญานาค มีความเชื่อแตกต่างกันไป โดยที่เห็นที่มีการสร้างทั่วไปจากคติความเชื่อ พญานาคมีลักษณะเป็นงูใหญ่ มีหงอน มีตาสีแดง มีเกล็ดสวยงามสีเขียวบ้าง สีดำบ้าง มีลักษณะเป็นห้าเศียรบ้าง
พญานาค เนื้อทองเหลือง
ตำนานพญานาคในทางพระพุทธศาสนา มีกล่าวไว้หลายส่วนอาทิเช่น ในครั้นที่องค์สมเด็จพระสัมมาาสัมพุทธเจ้าสมัยที่ยังบำเบ็ญบารมีขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็เคยลงมาเสวยพระชาติเป็นพญาคในชาติที่เกิดเป็นภูริทัตต์ในพระชาติที่ ๖ ในทศชาติชาดก เรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญศีลบารมี คือการารักษาศีล . มีเรื่องเล่าว่า ภูริทัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา. ยอมอดทนให้หมองูจับไปทรมานต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจตั้งมั่นต่อศีลของตนยอมทรมานยอมตัวตายดีกว่าให้ศีลที่ตั้งใจรักษาไว้ขาด ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ
บ่วงพญานาคกินหาง ประดับอัญมณี
และเรื่องของพญานาคในสมัยพุทธกาล ก็มีอยู่ในครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกจะเสด็จขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลก สววรค์ชั้นดาวดึงค์ มีพญานาคผู้ทรงฤทธิ์ตนหนึ่งชื่อ นันโทปนันทนาคราช ได้แผ่พังพานกางกั้นไม่ให้พระพุทธองค์ขึ้นไป พระพุทธเจ้าทรงให้พระมหาโมคคัลลาน์อัครสาวกผู้มากด้วยฤทธิ์ไปปราบลงได้ และได้รับการลงโทษให้เป็นนาคธรรมบาล หรือนาคพิทักษณ์พระพุทธศาสนา ตามที่เห็นเป็นบันใดนาคตามวัดต่างๆ และยังเป็นที่มาของหนึ่งในบทสวดพาหุึงฯที่ขึ้นต้นด้วย ” นันโทป…” เป็นต้น
บ่วงบาศนาคราช ทรงหยดน้ำประดับอัญมณี
ตำนาน มุจลินทร์นาคราช เป็นพญานาคซึ่งปรากฏในพุทธประวัติและเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางนาคปรก มีที่มาจาก ครั้นที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับเสวยวิมุตสุขใต้ต้นจิก ได้เกิดฝนตกพรำตลอด 7 วัน มีพญานาคนาว่า มุจลินท์นาคราช ซึ่งอยู่ใกล้นั้นได้เข้าไปใกล้ แล้วขดกายแวดล้อมองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ 7 รอบแล้วแผ่พังพานอันใหญ่ ป้องป้องมิให้พระวรกายต้องลมและฝน ครั้งครบ 7 วันแล้วก็ได้คลายขนด และแปลงเป็นมานพน้อย เข้าไปอภิวาทแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วก็จากไป
พญานาคคาบลูกแก้ว
ตำนานการบวชนาค ก่อนบวชหรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ต้องบวชนาคก่อน มีตำนานที่มาจาก สมัยพระพุทธกาลมีพญานาคตนหนึ่งอยากจะบวช จึงแปลงกายเป็นมนุษย์แล้วบวช จากนั้นก็ถูกจับได้ว่าเป็นพญานาค พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่านาคเป็นอภัพสัตว์ จะบรรลุมรรคผลไม่ได้ จึงมิสามารถบวชได้ พญานาคจึงเสียใจมากแล้วจากไป จากนั้นพญานาคจึงขอให้ฝากชื่อของตนไว้กับคนที่จะบวชใหม่ เพื่ออุทิศผลบุญกุศลมาให้แก่ตนซึ่งบวชไม่ได้ เพราะเหตุนี้คนบวชใหม่จึงถูกเรียกว่า “นาค” สืบมา
ตำนานท้องถิ่นของไทย เกี่ยวกับพญานาคได้แก่ ตำนานพญานาคคำชะโนด หรือวังนาคินทร์แห่ง อ.คำชะโนด ตั้งอยู่ในเขตติดต่อพื้นที่ 3 ตำบล ของอำเภอ บ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
เพชรพญานาค หรือ มณีนาคราช
ตำนานเล่าขานว่า มีพญานาคอยู่สองตนได้ปกครองเมืองหนองกระแส โดยแบ่งการปรกครองออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของ สุทโธนาค (พญาศรีสุทโธ) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของ สุวรรณนาค ทั้งสองปกครองเมืองอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แต่มีข้อตกลงกันอยู่ว่า ถ้าเมื่อฝ่ายใดออกไปล่าสัตว์หาอาหาร อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องไม่ไป เพื่อหลีกเลี่ยงการประทะกันและเมื่อฝ่ายที่ออกไปล่าก่อนได้สัตว์มาแล้ว ให้นำมาแบ่งกันอย่างละครึ่ง
เมื่อถึงสุทโธนาคได้ออกไปล่าสัตว์หาอาหารได้เนื้อช้างมา จึงนำเนื้อช้างที่ได้แบ่งให้สุวรรณนาค พร้อมทั้งนำขนของช้างไปยืนยันว่าเป็นเนื้อช้างจริง อีกครั้งที่สุวรรณนาคออกไปล่าสัตว์หาอาหารอีก ครั้งนี้ได้เม่นมาเป็นอาหาร จึงได้นำเนื้อเม่น และขนของเม่นไปมอบให้แก่สุทโธนาคเหมือนเช่นเคย แต่สุทโธนาคกลับแสดงความไม่พอใจ เพราะเมื่อดูจากขนของเม่นที่มีขนาดใหญ่กว่าขนของช้าง ปริมาณเนื้อที่ได้ก็ควรมีมากกว่าเนื้อของช้าง แต่ปริมาณเนื้อนั้นกลับมีน้อยกว่ามากนัก จึงคิดว่าสุวรรณนาคไม่มีความซื่อสัตย์ ฝ่ายสุวรรณนาคพยายามอธิบายอย่างไรก็ไม่เป็นผล จึงเกิดสงครามระหว่างสุทโธนาค และสุวรรณนาค
พระอินทร์ได้ทราบเรื่อง จึงหาวิธีการที่จะทำให้พญานาคทั้งสองนั้นหยุดทำสงครามกัน โดยให้พญานาคทั้งสองสร้างแม่น้ำขึ้นคนละสาย ถ้าใครสร้างได้ถึงทะเลก่อนจะให้ปลาบึกขึ้นอยู่ในแม่น้ำนั้น เมื่อได้ยินเช่นนั้น สุทโธนาคก็ได้สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส และด้วยความที่สุทโธนาคมีนิสัยใจร้อน เมื่อพบเจอภูเขากั้นทางแม่น้ำก็จะทำการหลบหลีก โค้งไปโค้งมา จึงเกิดเป็น แม่น้ำโขง (โค้ง) ส่วนทางฝ่ายสุวรรณนาคนั้น ได้ทำการสร้างแม่น้ำขึ้นทางทิศใต้ของหนองกระแส สุวรรณนาคมีความละเอียด และใจเย็น แม่น้ำที่สร้างขึ้นจึงมีความตรงกว่าแม่น้ำทุกสาย ได้แก่ แม่น้ำน่าน
สุทโธนาคเป็นผู้ที่สร้างแม่น้ำได้เสร็จก่อน จึงมีปลาบึกขึ้นอยู่ในแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียว และเมื่อเป็นเช่นนั้น สุทโธนาคก็ได้ขอทางขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองมนุษย์ไว้อีก 3 แห่ง หนึ่งในนั้นก็คือ คำชะโนด ซึ่งมีต้นชะโนดขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ให้สุทโธนาค พร้อมบริวารสามารถกลายร่างเป็นมนุษย์ (พญาศรีสุทโธ) และตั้งบ้านเมืองปกครองอยู่ที่คำชะโนดได้เมื่อข้างขึ้น 15 วัน อีก 15 วันข้างแรม ให้กลายเป็นนาค อาศัยอยู่เมืองบาดาล (พญานาคราชศรีสุทโธ)
ความเชื่อเรื่องการบูชาพญานาคในสังคมไทย เนื่องจากพญานาคมีตำนานเล่าขานมาช้านาน คนไทยจึงมักนิยมบูชาพญานาคเป็นรูปปั้นไว้กับบ้านเรือน ห้างร้านบริษัทเพื่อหวังผลทางด้านการบูชาเพื่อเสริมความสำเร็จทางด้านธุรกิจการค้า ปกป้องคุ้มครอง ให้โชคลาภ แม้แต่ในทางเครื่องรางของขลังก็มีการจัดสร้าง เครื่องรางของขลังประเภทพญานาคขึ้นหลากหลายรูปแบบเป็นที่ได้รับความนิยม
พญานาคจึงเป็นตำนานความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่คู่กับสังคมไทยมาช้านานอย่างไม่เสื่อมคลาย...

About