ตำนานเครื่องรางของขลังไทย

ตำนานเครื่องรางของขลังไทย / โดย มหานิยม
วัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ มักจะมีความเชื่อเรื่องไสยศาสาตร์อยู่คู่กันมาโดยตลอด แล้วความเชื่อเหล่านั้นมันจริงหรือไม่?
มหานิยมจะเล่าให้ฟัง...
ความเชื่อเป็นสิ่งที่คู่กับสังคมไทยในสังคมมาช้านาน ลักษณะความเชื่อ แบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ และหลายขั้น ตั้งแต่ขั้นงมงายจนถึง ตำนานความเชื่อความศรัทธา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ประเพณี สังคม ท้องถิ่น การปกครอง ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้

-ความเชื่อเรื่องโชคลาง เช่นความเชื่อเรื่องความฝัน ความเชื่อเรื่องลางบอกเหตุล่วงหน้า
-ความเชื่อเรื่องตำแหน่งของวัตถุและสถานที่ ซึ่งทางจีนเรียกว่าฮวงจุ้ย เช่นตำแหน่งการสร้างบ้าน การออกแบบบ้าน ทิศทาง และการวางวัตถุสิ่งของต่าง เชื่อว่าทำให้เกิดผลในทางบวกและลบในด้านต่างๆเป็นต้น
พ่องั่งตาแดง ฐานกริ่ง(เขย่าแล้วมีเสียงกริ่งอยู่ข้างใน) เมตตามหาเสน่ห์
-ความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม เชื่อกันว่ามีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิต ที่จำทำให้เกิดความสำเร็จ หรือล้มเหลว ความเชื่อเรื่องดวงชะตาราศี วันเดือนปีเกิด ดวงดาว วันสำคัญต่างๆ ล้วนมีความสำคัญมีอิทธิพลต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ

-ความเชื่อเรื่องชื่อและคำมงคล คนไทยเชื่อว่าชื่อที่มีความหมายไปในทางด้านต่างๆนั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตที่จะทำให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลวหรือเป็นไปในทางบวกหรือลบได้
-ความเชื่อที่แยกตามประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่นพระเพณีแห่นางแมวเพื่อขอฝน ประเพณีในวันสำคัญต่างๆ มากมายแยกไปตามท้องที่นั้นๆ
รกแมวมหาลาภ
-ความเชื่อเครื่องรางของขลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจลี้ลับ
ความเชื่อความศรัทธานี้เองที่มีอิทธิพลสำคัญต่อจิตใจมนุษย์ และทำให้คนเรามีการแสวงหาสิ่งที่จะช่วยเหลือให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีงามเป็นคุณเป็นประโยชน์กับตัวเอง เว้นหรือหลีกเสียจากสิ่งซึ่งเป็นโทษหรือผลลบ โดยสิ่งใดที่ทำแล้วคิดว่าเป็นคุณก็มักจะเสาะแสวงหาหรือทำให้เกิด เพื่อหลบเลี่ยงผลในทางลบ เครื่องรางของขลังจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่คนเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถนำพามาซึ่งสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ให้กับตัวเองได้
เดือยงูเหลือม
เครื่องรางของขลัง เป็นสิ่งที่คู่กับสังคมมาช้านาน หากจะแยกความหมายสามารถแยกได้เป็นสองคำ สองความหมาย คำว่า “เครื่องราง” หมายถึงวัตถุที่เชื่อว่าให้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่เป็นคุณกับผู้ที่ครอบครอง และมีอิทธิพลต่อความเชื่อความศรัทธาต่อผู้ที่มีไว้ครอบครอง เช่น เครื่องรางหินนำโชค ผู้ที่มีไว้ก็เชื่อว่าหินนั้นจะให้ผลทางด้านโชคลาภ หรือเครื่องรางมังกรของจีน ก็เชื่อว่าให้ผลทางด้านการเสริมบารมีให้กับผู้ที่มีไว้ครอบครองเป็นต้น เครื่องรางจึงเป็นเป็นวัตถุเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อของทุกชาติศาสนา และในทุกๆอารยธรรมดังมีหลักฐานปรากฏมากมาย เช่น เครื่องรางกรีกโบราณ เครื่องรางอียิป เครื่องรางจีน เครื่องรางฮินดู เครื่องรางเขมร เครื่องรางของไทยเป็นต้น
หุ่นพยนต์พราย สายเขมร สำหรับนักเสี่ยงโชค
ส่วนคำว่า “ของขลัง” หากพิจารณาตามรูปศัพท์น่าจะใช้กับ วัตถุที่สร้างจากตำราทางด้านไสย์เวทย์ของไทยที่ผ่านการปลุกเสก โดยเกจิอาจารย์เท่านั้น เพราะของขลัง มีความหมายไปในทางที่ให้พลังอำนาจเป็นที่ประจักษ์หรือมีประสบการณ์บอกเล่าถึงประสบการณ์ของผู้ที่มีไว้ครอบครองแล้วมีเหตุให้ได้เห็นผลปรากฏ

ประวัติความเป็นมาของเครื่องรางของขลังนั้นหากจะสืบหาที่มาที่ปรากฏเป็นหลักฐานก็เห็นปรากฏใน ตำราพิชัยสงราม ซึ่งเป็นหลักฐานที่ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรมาคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยมีบันทึกไว้ แม้แต่ในท้องถิ่นก็จะปรากฎเป็นหลักฐานเป็นตำราที่ทำจากใบลาน เช่นทางล้านนาจะเป็นคัมภีย์ใบลานเรียกว่า “ปั๊บสา” ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ทางล้านนา มักจะมีไว้เป็นสมบัติตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งตำราดังกล่าวนั้นจะเป็นตำราที่เขี่ยนด้วยอักขระโบราณ มีวิชาความรู้และสูตรเด็ดเคล็ดลับต่างๆ เช่นสูตรยา และยังมีคาถา และสูตรยันต์ต่างๆ
พ่องั่งและแม่เป๋อ ตาแดงมหาเสน่ห์
ตำราคัมภีย์พระเวทย์โบราณ จะบันทึกถึงวิธีการสร้างเครื่องรางของขลัง ที่ให้คุณวิเศษในทางด้านต่างๆ มีกรรมวิธีการสร้าง สิ่งที่ใช้สร้างตลอดจนอุปเท่ห์วิธีการนำไปใช้บูชาเช่น ตำราการสร้างเบี่้ยแก้ ตำราการสร้างหนุมาน ตำราการสร้างตะกรุด เป็นต้น โบราณจารย์ส่วนใหญจะเป็นพระสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมวิเศษจะสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสงเคราะห์ ชาวบ้านเพื่อบรรเทาทุกข์ และให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และให้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ให้ระลึกถึงคุณงามความดี หาใช่สิ่งงมงายตามที่คนขาดความรู้เข้าใจไม่
เขี้ยวหมูตัน
นอกจากเครื่องรางของขลังจะมีที่มาจากตำราแล้ว ยังมีที่มาจากตำนานความเชื่อเช่นการนำวัตถุต่างๆที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์หรือมีคุณวิเศษในตัว ซึ่งเชื่อว่าจะให้ผลในด้านต่างๆแก่ผู้ที่ครอบครอง เช่น เหล็กไหล เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมูตัน งาช้าง เขากวาง หางกระต่าย เป็นต้น และประเภทนี้มักจะนำไปปลุกเสกโดยเกจิอาจารย์ผู้ที่ความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นี้เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์

จี้ห้อยคอ งาช้าง(เจียเป็นรูปงาช้างเล็ก)
ตัวอย่างเครื่องรางของขลังไทย เช่น ตะกรุด, เบี้ยแก้, ลูกอม, ปลัดขิก, ลูกสะกด, วัวธนู, มีดหมอ, ผ้ายันต์, ท้าวเวสสุวรรณ, พระขุนแผน, อิ่นคู่, นางกวัก, กุมารทอง, พญาครุฑ, หนุมาน, พญาเสือ …ฯลฯ
เครื่องรางของขลังของไทยเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมและเป็นตำนานที่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ที่หยั่งลึกลงไปในจิตใจของผู้ที่มีความเคารพศรัทธาอย่างไม่เสื่อมคลาย...

About