นางกวัก เทวีแห่งโชคลาภมหาเสน่ห์

นางกวัก เทวีแห่งโชคลาภมหาเสน่ห์ / โดย มหานิยม
พ่อค้า แม่ขาย ต้องมีไว้บูชาครอบครอง ดลบรรดาลโชคลาภ เรียกลูกค้าเขาร้านไม่ขาดสาย กิจการค้าขายรุ่งเรือง เปิดร้านแบบนี้ต้องมีไว้บูชา มันดีจริงๆหรอ?
มหานิยมจะเล่าให้ฟัง...
นางกวัก เป็นเครื่องรางหรือตำนานความเชื่อที่อยู่คู่กับสังคัมไทยมาช้านาน แทบจะว่าติดหูผู้คนมานับแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน นางกวัก ก็ยังเป็นที่รู้จักอยู่ในสังคมไทยในยุคปัจจุบัน ลักษณะของนางกวักที่เห็นกันอยู่ทั่วไปมักจะทำเป็นหุ่นรูปปั้นของผู้หญิงแต่งชุดไทยโบราณรูปร่างอ่อนช้อยนั่งพับเพียบ มือข้างหนึ่งอยู่ในลักษณะยกขึ้นแล้วกวักมือเหมือนเรียก นอกจากจำทำเป็นหุ่นรูปปั้นแล้วก็มักจะเห็นเป็นรูปแบบของแผ่นยันต์ หรือผ้ายันต์ โดยมีรูปนางกวักอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยอักขระยันต์และคาถาต่างๆมีให้เห็นทั่วไป ทั่วทุกภาคส่วนของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ร้านค้า ห้างร้าน หรือแม่แต่บริษัทใหญ่ จะนิยมบูชานางกวักไว้เสมอ
แม่นางกวัก
อันเนื่องมาจากความเชื่อที่สืบทอดกันมายาวนานว่าการบูชานางกวักจะทำให้มีโชคลาภ ทำมาค้าขายคล่อง มีเงินมีทองไหลมาเทมาไม่ขาดสาย เจริญรุ่งเรืองร่ำรวย หรือแม้แต่ช่วยดลจิตดลใจให้คนเข้ามาซื้อของในร้านในส่วนของร้านค้า ร้านขายของต่างๆ
ผ้ายันต์นางกวัก มหาลาภ
ตำนานความเชื่อความศรัทธา ที่มาของนางกวักนั้นมีที่มาอยู่หลายทางด้วยกันแต่ที่มาที่เป็นที่เด่นชัดได้แก่ตำนานนางกวักของนางสุภาวดี ในครั้งพุทธกาลมีตำนานเล่าดังนี้
ในสมัยพุทธกาล มีครอบครัวหนึ่ง สามีชื่อ สุจิตตพราหมณ์ ภรรยาชื่อ สุมณฑา มีบุตรสาวชื่อสุภาวดี มีถิ่นอาศัยอยู่ที่เมืองมิจฉิกาสัณฑนคร ใกล้กรุงสาวัตถี ประกอบอาชีพค้าขายมีรายได้พอเลี้ยงตัว ต่อมาจึงตัดสินใจซื้อเกวียนเพื่อบรรทุกสินค้าไปค้ายขายยังต่างเมืองและซื้อสินค้าต่างเมืองกลับมาขายที่เมืองมิจฉิกาสัณฑนคร ซึ่งบางครั้งบุตรสาวที่ชื่อ สุภาวดี ก็ขอติดตามบิดามารดาไปด้วย
แม่นางกวักลงอักขระ แช่น้ำมันจันทร์ เรียกทรัพย์
ระหว่างเดินทางนั้นได้มีโอกาศฟังพระธรรมเทศนาจากพระเถระเจ้าผู้ทรงคุณวิเศษ เป็นพระอรหันต์ถึงสององค์ คือพระมหากัสปะ และพระสิวลี เถระเจ้า จนครอบครัวของสุจิตตพราหมณ์ทั้งสามคนมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีความเคารพพระรัตนตรัย นอกจากนั้นครอบครัวของสุจิตตพราหมณ์และนางสุภาวดียังได้รับพรวิเศษจากพระเถระเจั้าทั้งสององค์หลายครั้ง ทำให้ประกอบกิจการการค้าเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยขึ้น เมื่อสุจิตตพราหมณ์มีฐานะมั่นคงร่ำรวยขึ้น จึงได้สร้างอุทยานชื่อ อัมพาฎกวัน อุทิศเป็นสังฆทานให้เป็นที่พักพระภิกษุสงฆ์ ทั้งยังสร้างวิหารหลังใหญ่ไว้กลางอุทยานเป็นวัดขึ้น ตั้งชื่อว่า วัดมัจฉิกาสัณฑาราม และนิมนต์พระสุธรรมเถระ มาเป็นเจ้าอาวาส เพื่อเป็นการบำรุงพระพุทธศาสนา
ด้วยเหตุที่สุจิตตพราหมณ์ นำบุตรสาวที่ชื่อสุภาวดี ติดตามไปแล้วทำให้ค้าขายร่ำรวย จึงเป็นตำนานความเชื่อของการสร้างนางกวัก ซึ่งเชื่อกันว่าหากบูชาด้วยความศรัทธาแล้วจะดลบรรดาลโชคลาภ เสริมฐานะและความร่ำรวยได้เหมือนสุจิตตพราหมณ์

สำรับสังคมไทยในยุคของการสร้างเครื่องรางของขลัง นางกวักเป็นเครื่องรางของขลังที่เกจิอาจารย์มักสร้างขึ้นนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะมีให้เห็นอยู่ไม่ขาด โดยการสร้างนางกวักในยุคโบราณมักจะเห็นเป็นลักษณะของนางกวักที่สร้างจากเนื้อดินบ้าง เนื้อผงบ้าง หรือ ทำจากวัตถุต่างๆแกะบ้าง อาทิเช่น
-นางกวักงาแกะ ของหลวงพ่อเดิมวัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์
-นางกวัก เนื้อดิน หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท
-นางกวักเนื้อดิน หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
-นางกวักเนื้อดิน หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม
– นางกวัก หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

นอกจากนั้นเกจิอาจารย์และวัดต่างๆก็ได้สร้างนางกวักออกมาอีกหลายรุ่นหลายแบบอาทิเช่น เป็นรูปเหมือนนางกวักลอยองค์ รูปหล่อนางกวักองค์เล็ก พระผงนางกวัก ผ้ายันต์นางกวัก หรือแบบอื่นๆ ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมจากบรรดาผู้ที่ชอบเครื่องรางของขลังประเภทนางกวักนี้ และบรรดาพ่อค้าแม่ค้าผู้ที่ทำธุรกิจ อย่างไม่เสื่อมคลาย...

About